ประกันรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ.)
การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ซึ่งจะคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย
อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ
วัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.
- เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ
หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
- เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
- เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ความคุ้มครอง
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ คุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท/คน
- ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ คุ้มครองสูงสุด 200,000 – 500,000 บาท/คน
- ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร คุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท/คน
- ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล 200 บาท/วัน (ไม่เกิน 20 วัน)
ทุนประกัน
มูลค่าสูงสุดที่บริษัทประกันจะชดใช้ให้เมื่อเกิดความเสียหายต่อรถ (ไม่เกิน 80% ของราคาท้องตลาด)
ประเภทการซ่อมมี 2 ประเภท
- ซ่อมอู่ คือ ซ่อมโดยอู่ในเครือบริษัทประกันภัย
- ซ่อมห้าง คือ ศูนย์บริการที่ผู้ขับขี่ออกรถหรือศูนย์รถยนต์ของยี่ห้อรถผู้ขับขี่
ค่าเสียหายส่วนแรก
ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต้องจ่ายร่วมกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ (ช่วยกันจ่าย)
กรณีมีการเคลมประกันรถยนต์ที่เข้าเงื่อนไขความรับผิดในกรมธรรม์ที่ได้ตกลงไว้ เช่น
กรณีการเคลมที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดหรือได้ทำสัญญาไว้ในการจ่ายค่า excess