07 Jul 2021
วัคซีนทางเลือกเป็นวัคซีนนอกเหนือจากที่รัฐบาลไทยจัดหามาให้ ซึ่งประชาชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ในวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย ทำให้วัคซีนทางเลือกได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน อีกทั้งวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาให้อย่างซิโนแวค (Sinovac) หรือแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ยังถือว่ามีประสิทธิภาพการป้องกันไม่ถึง 100% จึงทำให้ผู้คนหันมาสนใจวัคซีนทางเลือกแทน ซึ่งวัคซีนที่โรงพยาบาลเอกชนเปิดให้จองและชำระเงินในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโมเดอร์นา (Moderna) และคาดการณ์ว่าจะเข้าประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม 2564 MR.OOHOO จึงได้รวบรวมโรงพยาบาลที่เปิดจองมาฝากทุกท่านครับ รายชื่อ 20 โรงพยาบาลเปิดจองวัคซีนทางเลือก (ข้อมูลวันที่ 6 กรกฎาคม 2564) 1. โรงพยาบาลเครือบางกอกเชนฮอสพิทอล หรือเครือเกษมราษฎร์ โทร 1218 ปิดจองชั่วคราว 2. โรงพยาบาลวิภาวดี โทร 025611111 ปิดจองชั่วคราว 3. โรงพยาบาลบางโพ โทร 025870144 ปิดจองชั่วคราว 4. โรงพยาบาลพระราม 9 โทร 1270 ปิดจองชั่วคราว 5. โรงพยาบาลลาดพร้าว โทร 025302556 ปิดจองชั่วคราว 6. โรงพยาบาลในเครือบางปะกอกและปิยะเวท โทร 1745 ปิดจองชั่วคราว 7. โรงพยาบาลในเครือธนบุรี เฮลท์แคร์กรุ๊ป โทร 027197832 กด 6 ปิดจองชั่วคราว 8. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โทร 022657777 ปิดจองชั่วคราว 9. โรงพยาบาลอินทรารัตน์ โทร 024815555 ปิดจองชั่วคราว 10. โรงพยาบาลนครพัฒน์ โทร 075305999 ปิดจองชั่วคราว 11. โรงพยาบาลในเครือพญาไท โทร 1772 ปิดจองชั่วคราว 12. โรงพยาบาลเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ โทร 020805999 ปิดจองชั่วคราว 13. โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร 022011000 ปิดจองชั่วคราว 14. โรงพยาบาลในเครือข่ายจุฬารัตน์ โทร 021152111 ปิดจองชั่วคราว 15. โรงพยาบาลเมดพาร์ค โทร 020233333 ปิดจองชั่วคราว 16. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร 020668888 ติดตามการจอง www.facebook.com/bumrungrad 17. โรงพยาบาลหัวเฉียว โทร 022231351 ปิดจองชั่วคราว 18. โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล โทร 024417899 ปิดจองชั่วคราว 19. โรงพยาบาลในเครือรามคำแหง โทร 027439999 ปิดจองชั่วคราว 20. โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร 1719 ปิดจองชั่วคราว ยังไงแล้ว MR.OOHOO ขอแนะนำให้ทุกท่านโทรสอบถามแต่ละโรงพยาบาลก่อนนะครับว่ายังเปิดจองอยู่หรือไม่ เนื่องจากบางโรงพยาบาลปิดการจองเพราะโควตาเต็มแล้ว แพ้วัคซีนทำยังไง การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ดื่มน้ำสะอาดให้มาก 3. งดอาหารรสจัด บุหรี่ ชา และกาแฟ 4. สวมหน้ากากอนามัยและใส่เสื้อผ้าที่สบาย 5. หมั่นล้างมือและเว้นระยะห่าง 6. แจ้งโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา/อาหาร การตั้งครรภ์แก่เจ้าหน้าที่ 7. พกบัตรประชาชนติดตัว แพ้วัคซีนโควิด-19 (COVID-19) เป็นยังไง และต้องทำยังไง ? ปัจจุบันวัคซีนเป็นเพียงตัวช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อไวรัส ซึ่งยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% หรือรักษาให้หายขาดได้ และเนื่องจากวัคซีนไม่ได้มีการทดลองเป็นเวลานานเหมือนวัคซีนทั่วไป ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงหลังฉีดได้ในบางคน หลังจากได้รับวัคซีน MR.OOHOO ขอให้ทุกท่านเฝ้าสังเกตอาการให้ดี หากมีอาการแพ้แนะนำให้ท่านรีบพบแพทย์ทันทีหรือโทรสายด่วน 1669 นะครับ ซึ่งอาการแพ้วัคซีนจะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ครับ 1. อาการทั่วไป มีการปวดเมื่อย บวมแดง มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้/อาเจียน เวียน/ปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ใน 1-5 วัน ด้วยการพักผ่อน ทานยาแก้ปวด หรือประคบเย็นร่วมด้วย 2. อาการแพ้รุนแรง มักจะเกิดกับผู้ที่แพ้สารประกอบในวัคซีนนั้นๆ อาจจะมีผื่นขึ้นตามตัว ปากบวม หน้าบวม หายใจไม่ออกหรือติดขัด ความดันตก หรือท้องเสียฉับพลัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากฉีดวัคซีนทันที หรือประมาณ 30-45 นาที ดังนั้นการฉีดวัคซีนจะต้องมีการเฝ้าดูอาการ นอกจากนี้ยังมีอาการที่เกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว เช่น มีการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน การเกิดเกล็ดเลือดต่ำ การเกิดแขนขาอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้าอีกด้วย ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 (COVID-19) ประกันการแพ้วัคซีนเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อรองรับในกรณีที่ท่านเกิดการแพ้วัคซีน ซึ่ง MR.OOHOO ก็ได้นำแพ็กเกจของประกันแพ้วัคซีนมาฝากทุกท่าน ซึ่งเป็นของของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน)หรือบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) นั่นเอง ราคาเริ่มต้น 75-265 บาท คุ้มครองสูงถึง 2,000,000 บาท ไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน หากสนใจก็สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.oohoo.io/th/covid/178 มีทั้งประกันโควิด-19 และแพ้วัคซีนโควิด-19เลยครับ วิธีเคลมประกันแพ้วัคซีน (COVID-19) 1. เตรียมเอกสาร 1.1 แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของแต่ละบริษัทฯ 1.2 ผลตรวจเชื้อโควิด 1.3 ใบรับรองแพทย์/ ใบมรณะ 1.4 ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล 1.5 สำเนาบัตรประชาชน 1.6 สำเนาบัญชีธนาคาร 1.7 กรมธรรม์ประกันภัย 2. ส่งเอกสารให้บริษัทประกันภัย 3. รอรับเงิน (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละบริษัทประกันภัย)