21 Apr 2023
ยุคนี้คงไม่มีอะไรมาเเรงกว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV( Electric Vehicle) อีกแล้ว หลายคนคงวางแผนออกรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับพลังงานทดแทนเสมือนเป็นภารกิจช่วยเหลือโลก แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคงหนีไม่พ้นแหล่งชาร์จไฟฟ้า ที่ไม่ต่างไปกับรถยนต์สันดาปที่ต้องเติมน้ำมันอยู่บ่อย ๆ หลายบ้านคงเริ่มมองหาวิธีการติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้ากันแล้ว แต่ถ้าเป็นมือใหม่กำลังเริ่มต้น อยากลองติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องเริ่มจากอะไร วันนี้ Mr.OOHOO รวม 6 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน มาให้ครับ
ลักษณะมิเตอร์ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยในตัวเมือง ส่วนมากเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมป์ แต่ถ้าหากเป็นที่อยู่อาศัยต่างจังหวัดที่ไม่ได้ใช้กำลังไฟมาก ก็จะเป็นขนาด 5(15) แอมป์ สำหรับการใช้ชาร์จรถไฟฟ้าลักษณะการกินไฟเริ่มต้นที่ระดับ 16 แอมป์ขึ้นไป ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป เพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น
พอเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าให้รู้กำลังไฟที่ต้องใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต้องเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตรขนาดเดิมที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันทั่วๆไป ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหรือขนาดของสายทองแดงนั่นเอง
โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือที่เรียกกันว่าเบรกเกอร์ลูกย่อยหรือลูกสกิตหรือไม่ เพราะตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A ควรมีช่องว่างที่มีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย หากมีการติดตั้งตู้ประเภทนี้ควรมีช่องเหลือไว้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้ 6 ช่อง ก็ควรเลือกตู้แบบ 10 ช่อง ให้มีเหลือไว้อีก 4 ช่อง เผื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายหลัง ก็จะได้สามารถมาติดช่องเพิ่มได้
ผ่อนเงินสด 0%
ไม่มีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้
การันตีราคาถูกที่สุด
เจอที่อื่นถูกกว่าเราพร้อมคืนเงินทันที
เปรียบเทียบได้เลย
เช็คราคา ความคุ้มค่าก่อนสั่งซื้อ
ซื้อเองได้ 24 ชั่วโมง
ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่โทรตาม
รับกรมธรรม์ได้เลย
ผ่านระบบออนไลน์
เจ้าหน้าที่พร้อมบริการด้วยใจ
เมื่อคุณต้องการคำแนะนำ
เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device หรือ RDC) ไว้สำหรับตัดวงจรเมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟไหม้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจรได้ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B แต่ในกรณีที่สายชาร์จมีระบบตัดไฟภายอัตโนมัติ ก็ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องชนิดนี้เพิ่มก็ได้
การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู ใช้หลักดินแยกออกจากหลักดินของระบบไฟในบ้าน ควรเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดินควรเชื่อมต่อด้วยความร้อน นอกจากนี้ยังมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพาสำหรับอำนวยความสะดวกหากต้องชาร์จไฟฟ้านอกบ้าน นอกจากการใช้เต้ารับแบบ 3 รูแล้ว ควรทนกระแสไฟได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 แอมป์ด้วย และในส่วนของเครื่องชาร์จไฟที่มีอุปกรณ์ IC-CPD (In3Cable Control and Protection Device) ควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2911 หรือ IEC 62752 ส่วนเครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) ก็ควรได้รับมาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851 เช่นเดียวกัน
ตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดก็ควรจะติดตั้งภายในตัวบ้านที่สามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องของการใช้งาน สามารถกันแดด กันฝน และให้ร่มเงาได้ และเพื่อป้องกันตัวเครื่องยนต์และแบตเตอรี่จากแสงแดด ก่อนจะติดตั้งเต้ารับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเช็กระยะห่างเหมาะสมกับความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 เมตร
สำหรับใครที่วางแผนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ก็ควรคำนึงถึง 6 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ด้วยนะครับ ที่สำคัญหาประกันรถยนต์ไฟฟ้าไว้คุ้มครองเผื่อเอาไว้ ที่ OOHOO.io เป็นแหล่งรวมประกันรถยนต์จากหลายบริษัทประกันชั้นนำยอดนิยม มีแพ็กเกจให้เลือกมากสุด สามารถเปรียบเทียบราคาเอาไว้อย่างหลากหลาย รวมถึงประกันรถยนต์ไฟฟ้า EV ด้วย สามารถซื้อประกันรถได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเป็น ประกันออนไลน์ ไม่โทรกวนใจ จบง่ายในเว็บเดียว เข้ากับยุคดิจิทัลสุดๆ
ที่มา : Kapook.com